Breaking News

อาการ ฝีดาษลิง วิธีป้องกัน?

โรคฝีดาษวานร – ฝีดาษลิง (Monkeypox)

เรียนรู้ทำความเข้าใจเบื้องต้นกับอาการ โรคฝีดาษลิง อาการเป็นอย่างไร วิธีป้องกันตนเองมีวิธีอะไรบ้าง? เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวรับมือป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ แบบไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป มาทำความเข้าใจโรคฝีดาษลิง กัน ฝีดาษลิง คืออะไร? เหมือนโรคโควิค19 หรือไม่อย่างไร

ฝีดาษลิง คืออะไร?

โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง”

โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิต 1-10% ทั้งนี้การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ได้แก่

  • สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิต 10%
  • สายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่หลายคนให้ความสนใจ และวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอนนี้ในประเทศไทย ได้ตรวจพบผู้ป่วยรายเเรก ที่เป็นผู้ป่วยฝีดาษลิง ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งทำให้หลายคนกำลังกังวน ว่าจะมีการแพ่ระบาด เหมือนโรคโควิค19 ดังนั้นวันนี้

การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญเพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือโรคฝีดาษลิง แบบไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป ทำความเข้าใจโรค

อาการของโรคฝีดาษลิง เป็นอย่างไร?

อาการของโรคฝีดาษลิง มีระยะฟักตัวอยู่ที่ 7 – 14 วัน หากผู้สัมผัสเชื้อมากจะแสดงอาการได้เร็ว แต่หากสัมผัสเชื้อไม่มากอาการแสดงจะอยู่ที่ประมาณ 3 สัปดาห์ อาการเริ่มแรกที่สังเกตได้ชัดเจน คือ ระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิง ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแสดงต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ ไข้สูง
  • ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
  • ปวดกระบอกตา
  • ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย
  • มีผื่น ตุ่มหนอง

สำหรับอาการต่อมน้ำเหลืองโต ถือเป็นจุดเด่นที่สังเกตได้ของโรคไข้ฝีดาษลิง มักเกิดขึ้นได้ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่ไปสัมผัสโรคตามผิวหนัง เช่น คอ ไหปลาร้า ข้อศอก รักแร้ เป็นต้น หรือผ่านทางเยื่อบุทางเดินหายใจ จากการพูดคุย สัมผัสใกล้ชิด การจูบ ได้เช่นกัน ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตนี้จะเป็นอาการที่แตกต่างจากโรคไข้สุกใส ที่เป็นไข้ออกผื่นลักษณะเดียวกัน

หลังจากที่มีไข้มาประมาณ 3 วัน จะเข้าสู่ช่วงระยะออกผื่น โดยลักษณะผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยผื่นมักจะขึ้นที่บริเวณใบหน้า แขน และขา มากกว่าที่ลำตัวโดยลักษณะของผื่นจะเริ่มจาก จุดแดงๆ กลมๆ หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็น ตุ่มน้ำใส และ กลายเป็นตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด ในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงที่ผื่นเป็นตุ่มน้ำใส และตุ่มหนอง จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อได้สูงสุด หากผื่นเริ่มตกสะเก็ดแล้ว จะถือว่าพ้นจากระยะการแพร่เชื้อ ผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินลึกถึงชั้นผิวหนังด้านใน ทำให้หลังจากผื่นตกสะเก็ดจะทำเกิดรอยโรคหรือรอยแผลเป็นได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ

โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไร?

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อได้จากทั้งคนและสัตว์

  • จากสัตว์สู่คน สามารถติดต่อได้จากสัตว์กัดแทะทุกชนิด การติดต่อ ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง น้ำหนอง ตุ่มหนองของสัตว์ ผื่นสัตว์ การถูกสัตว์ติดเชื้อกัดหรือข่วน การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ติดเชื้อและปรุงไม่สุก เป็นต้น
  • จากคนสู่คน สามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง กับสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) อย่างไอ จาม ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนอง สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย เสื้อผ้าผู้ป่วย หรือมักมาจากการใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย

วิธีการป้องกันฝีดาษลิง ทำได้อย่างไร?

  • สวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่
  • ออกห่างจากผู้ติดเชื้อ ผู้ที่สงสัยเสี่ยงติดเชื้อ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย
  • เลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
  • ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
  • หลังกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ และแยกกักตัว เพื่อมิให้แพร่กระจายเชื้อ

About paesho

Check Also

omicron

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน (Omicron)

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน (Omicron) เพิ่งถูกค้นพบและได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในวันที่ 26 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา และล่าสุดได้ถูกจัดให้เป็นเชื้อไวรัสโควิค -19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 …